วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประสิทธิภาพ (efficiency) และประสิทธิผล (effectiveness)



เป็นเรื่องเกี่ยวกับลักษณะของ การจัดการ โดยประสิทธิภาพ หมายถึง การทํางานอย่างถูกวิธี เป็นการเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยนํา เข้า (inputs) กับผลผลิต (outputs) หากเราสามารถทํางานได้ผลผลิตมากกว่าในขณะที่ใช้ปัจจัยนําเข้าน้อยกว่า หรือ เท่ากัน ก็หมายความว่า เราทํางานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งปัจจัยนําเข้าในการจัดการก็คือทรัพยากรขององค์การ ได้แก่ คน เงิน วัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องจักร และทุน ทรัพยากรเหล่านี้มีจํากัด และเป็นต้นทุนในการดําเนินงานขององค์การ ดังนั้นการจัดการที่ดีจึงต้องพยายามทําให้มีการใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดและให้เกิดผลผลิตมากที่สุด

ประสิทธิผล (effectiveness) สําหรับประสิทธิผลในการจัดการหมายถึง การทําได้ตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงคที่กําหนดไว้ การจัดการที่มีเพียงประสิทธิภาพนั้นยังไม่เพียงพอต้องคำนึงว่า ผลผลิตนั้นเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนดไว้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น สถาบันศึกษาที่ผลิตผู้สําเร็จการศึกษาพร้อมกันที่ละมากๆ หากไม่คำนึงถึงคุณภาพการศึกษาก็อาจจะได้แต่ประสิทธิภาพ คือใช้ทรัพยากรในการผลิตหรือต้นทุนต่อผู้เรียนตํ่า แต่อาจจะไม่ได้ประสิทธิผลในการศึกษา เป็นต้น และ ในทางกลับกันหากทํางานที่ได้ประสิทธิผลอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องคำนึงถึงต้นทุนและความมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น บริษัท Hewlett-Packard อาจจะทําตลับหมึกสีสําหรับเครื่อง Laser printer ที่มีสีเหมือนจริงและทนนานมากกว่าเดิมได้ แต่ต้องใช้เวลา แรงงาน และวัตถุดิบที่สูงขึ้นมาก ทางด้านประสิทธิผลออกมาดี แต่นับว่าไม่มีประสิทธิภาพ เพราะต้นทุนรวมสูงขึ้นมาก เป็นต้น


ในการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น ต้องอาศัยความเข้าใจในสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ด้านมนุษย์ศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ปรัชญา การเมือง จิตวิทยา และ สังคมศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ความได้เปรียบในการแข่งขัน การคาเสรี ความขัดแย้ง การใช้อํานาจ และความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม


ขอบคุณจาก http://www.kmitnbxmie8.com

เพื่อนๆสมัยมัธยมร่วมกันจัดกิจกรรมให้น้อง

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ คือ อะไร จบมาทำงานอะไร

                                                                                                      
                                                                                    โดย อ.ชัยวิชิต  เจษฎาภัทรกุล (P’ชัย)
                               
                บริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ ตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “Public Administration” ซึ่งเป็นสาขาวิชาหนึ่งในคณะรัฐศาสตร์ หรือ สังคมศาสตร์ของทุกสถาบัน เช่น คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ สาขาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ สาขาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะรัฐศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วบริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐ หรือ ระบบราชการนั่นเอง รวมทั้งองค์กรของรัฐ เช่น รัฐวิสาหกิจ และองค์กรมหาชนต่างๆ โดยส่วนใหญ่มักเน้นเรื่องกรอบแนวความคิดด้านการบริหารองค์การและการจัดการ (Organization & Management) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management) การบริหารงานคลังและงบประมาณ (Fiscal Administration & Budgeting) การบัญชีรัฐบาล (Government Accounting) การวางแผนบริหาร (Administrative Planning) กฎหมายมหาชน (Public Laws) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานภาครัฐ (Public Information System) นโยบายสาธารณะ (Public Policy) การบริหารงานตำรวจ (Police Administration)  และจิตวิทยาองค์การ (Organizational Psychology)
                คุณสมบัติของผู้สนใจที่จะศึกษาต่อสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ 
                1. ควรมีพื้นฐานความรู้และชอบศึกษาในกลุ่มสาระฯ วิชาสังคมศึกษา โดยเฉพาะสาระการเรียนรู้ด้านหน้าที่พลเมือง และกฎหมาย หรือ ความรู้ทั่วไปทางรัฐศาสตร์ นั่นเอง
                2. สนใจและติดตามข่าวสารบ้านเมืองโดยเฉพาะข่าวการเมือง ข่าวเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ข่าวเศรษฐกิจการเมือง และนโยบายของรัฐบาล โดยสามารถวิเคราะห์วิจารณ์เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ เหล่านั้นได้อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล
                3. ชอบและสนใจวิชาด้านการบริหารองค์กรขนาดใหญ่ (Bureaucracy) เพื่อการพัฒนาประเทศ (Development Administration) โดยเฉพาะองค์กรที่มิได้มุ่งแสวงหากำไร (Non-Profit Organization) แต่อย่างไรก็ตาม ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชานี้สามารถนำความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือด้านการบริหารไปปรับใช้ในองค์กรธุรกิจที่แสวงหากำไรได้เช่นกัน
                4. ต้องพร้อมที่จะเรียนรู้สหวิทยาการ เนื่องจากสาขาวิชานี้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสาขาวิชาอื่นๆ มากมาย เช่น เศรษฐศาสตร์การเงิน-การคลัง การบัญชี การบริหารและการจัดการ กฎหมายปกครอง การพัฒนาสังคม การสื่อสารองค์กร จิตวิทยา และรัฐศาสตร์สาขาอื่นๆ
                5. ควรมีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สถิติ และภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ดี
                6. ต้องมีอุดมการณ์ที่จะทำงานเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน โดยไม่ใช้กลไกของระบบราชการมากอบโกยผลประโยชน์เข้าพวกพ้อง และเข้าใจดีถึงทฤษฎีการพัฒนาประเทศ ความเสมอภาค และความยุติธรรมทางสังคม
                แหล่งงานสำหรับบัณฑิตสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์
                1. แหล่งงานภาครัฐ บัณฑิตสาขาวิชานี้สามารถทำงานด้านบริหาร นโยบาย และแผนงานได้ทุกหน่วยราชการ ทุกกระทรวง ทบวง กรม กอง เช่น ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป  เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่ประสานงาน เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล เลขานุการบริหาร นักวิชาการศึกษา ฯลฯ สำหรับผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาต่างประเทศดีก็สามารถทำงานเป็นเจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ หรือ นักการทูตได้ สำหรับในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และองค์กรมหาชนก็มีตำแหน่งคล้ายคลึงกับหน่วยงานราชการ
                2. แหล่งงานภาคเอกชน ตามที่ได้กล่าวแล้วว่า บัณฑิตสาขาวิชานี้ได้เรียนรู้ความรู้ และเครื่องมือทางการบริหารงานมากกว่าสาขาอื่นๆ ของวิชารัฐศาสตร์จึงทำให้บัณฑิตสามารถนำความรู้เทคนิคด้านการบริหารจัดการไปใช้ในการทำงานภาคเอกชนได้ดีในการบริหารงานทุกระดับของบริษัท โดยเฉพาะบัณฑิตที่มีความรู้การคำนวณ และภาษาดี ขอบข่ายงานก็ยิ่งจะกว้างขวางมากขึ้น เช่น นักวิเคราะห์โครงการ นักวิเคราะห์การลงทุน นักวิเคราะห์ระบบงาน นักบริหารองค์การระดับสูงที่สามารถวิเคราะห์การบริหารเศรษฐกิจมหภาคได้
                 ..................................................................................................................
ข้อมูลจาก http://knowledge.eduzones.com